การกำหนดกรอบป้อนข้อมูลแบบ TEXT BOX
 
<FORM>
<INPUT TYPE="TEXT" NAME="ชื่อย่อของข้อความ" SIZE="ค่าตัวเลข" MAXLENGTH="ค่าตัวเลข">
</FORM>
  • SIZE เป็นการกำหนดความกว้างของ Textbox
  • MAXLENGTH เป็นการกำหนดค่าที่จะแสดงผล Textbox
  • คำสั่งการแสดงผลนั้นจะมีลักษณะการแสดงผลแบบบรรทัดเดียว เพื่อให้ป้อนข้อมูลที่เป็นเลข หรือตัวอักษร
การแสดงผลแบบ PASSWORD
คำสั่งการแสดงผลแบบ PASSWORD จะเป็นคำสั่งที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการแสดงผลจะเหมือนกับการแสดงผลแบบ TEXTBOX คือจะเป็นคำสั่งที่มีลักษณะการแสดงผลแบบบรรทัดเดียว แต่จะแตกต่างตรงที่การป้อนข้อมูล ถ้าเป็นการแสดงผลแบบ Textbox นั้นจะเป็นตัวอักษร แต่ถ้าเป็นการแสดงผลแบบ PASSWORD จะเป็นดอกจัน (*)
<FORM>
<INPUT TYPE="PASSWORD" NAME="ชื่อย่อของข้อความ" SIZE="ค่าตัวเลข" MAXLENGTH="ค่าตัวเลข">
</FORM>

 

  • SIZE เป็นการกำหนดความกว้างของ Textbox
  • MAXLENGTH เป็นการกำหนดค่าที่จะแสดงผล Textbox
การแสดงผลแบบ CHECKBOX
ในการกำหนดการแสดงผลแบบ CHECKBOX จะแสดงผลตัวเลือกทั้งหมดที่เรากำหนดไว้ โดยจะแสดงช่องทำเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมอยู่หน้าตัวเลือก เพื่อให้คลิกตัวเลือกที่ต้องการในการแสดงผลแบบ CHECKBOX จะมีคุณสมบัติอยู่ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า CHECKED จะเป็นตัวกำหนดค่ามาตรฐานในการแสดงผลที่มีลักษณะการแสดงผลเป็นเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยมที่เป็นตัวเลือก ถ้าเราต้องการยกเลิกก็ทำการคลิกที่ช่องตัวเลือกนั้นเครื่องหมายถูกก็จะหายไป
<FORM>
<INPUT TYPE="CHECKBOX" NAME="ชื่อย่อของข้อความ" VALUE="ชื่อย่อของข้อมูลที่แสดงผล" CHECKED>
</FORM>
การแสดงผลแบบ RADIO
ในการกำหนดการแสดงผลแบบ RADIO จะแสดงผลตัวเลือกทั้งหมดที่เรากำหนดไว้ โดยจะแสดงช่องทำเครื่องหมายเป็นรูปวงกลม ในการแสดงผลแบบ RADIO จะมีคุณสมบัติอยู่ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า CHECKED จะเป็นตัวกำหนดค่ามาตรฐานในการแสดงผล ที่มีลักษณะการแสดงผลเป็นเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมที่เป็นตัวเลือก ถ้าเราต้องการยกเลิกก็ทำการคลิกที่ช่องตัวเลือกนั้นเครื่องหมายถูกก็จะหายไป
<FORM>
<INPUT TYPE="RADIO" NAME="ชื่อย่อของข้อความ" VALUE="ชื่อย่อของข้อมูลที่แสดงผล" CHECKED>
</FORM>

ข้อสังเกต

การกำหนดค่า VALUE และ NAME ในการแสดงตัวเลือกแบบ CHECKBOX และการแสดงตัวเลือกแบบ RADIO นั้นมีข้อสังเกตได้ว่า ถ้าเป็นการตัวเลือกแบบ CHECKBOX นั้น VALUE จะกำหนดค่าเท่ากัน แต่ NAME จะกำหนดค่าต่างกัน ในทางกับกันการแสดงตัวเลือกแบบ RADIO นั้นจะกำหนดค่า VALUE ให้มีค่าต่างกันส่วนค่าของ NAME นั้นจะกำหนดค่าให้เท่ากัน

การส่งแบบฟอร์มแบบ SUBMIT
คำสั่งนี้จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลแบบฟอร์มสอบถาม ไปยังเซอร์ฟเวอร์ของเราเพื่อทำการประมวลผลข้อมูล การแสดงผลในคำสั่งนี้จะแสดงผลเป็นลักษณะปุ่ม โดยมีการกำหนดค่าที่จะแสดงบนปุ่มที่ VALUE
<FORM>
<INPUT TYPE="SUBMIT" NAME="ชื่อย่อของข้อความ" VALUE="ค่าที่จะแสดงบนปุ่ม">
</FORM>
การส่งแบบฟอร์มแบบ RESET
คำสั่งจะทำหน้าที่ในการยกเลิกข้อมูลต่าว ๆ ที่ทำการป้อนลงในแบบฟอร์ม คือ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบข้อมูลในแบบฟอร์มทั้งหมด เพื่อทำการป้อนข้อมูลลงในแบบฟอร์มใหม่ การแสดงผลในคำสั่งนี้จะแสดงผลเป็นลักษณะปุ่ม โดยมีการกำหนดค่าที่จะแสดงบนปุ่มที่ VALUE
<FORM>
<INPUT TYPE="RESET" NAME="ชื่อย่อของข้อความ" VALUE="ค่าที่จะแสดงบนปุ่ม">
</FORM>
การจัดกลุ่มฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์ม
คำสั่งนี้ใช้ในการจัดกลุ่มฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์มที่มีใจความและการใช้งานที่สัมพันธ์กัน ช่วยให้แบบฟอร์มมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจ และสามารถป้อนข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
<FORM>
<FIELDSER>
<LEGEND>.....................</LEGEND>
</FIELDSER>
</FORM>
  • <FIELDSET> เป็นการกำหนดการจัดกลุ่มฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์ม
  • <LEGEND> เป็นการแสดงคำอธิบายกลุ่มฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์ม

 


Free Web Hosting