การสร้างตัวแปรอาร์เรย์
ก่อนที่จะมีการใช้งานอาร์เรย์นั้น เรา จะต้องทำการปะกาศตัวแปรที่มีลักษณะเป็นอาร์เรย์เสียก่อน เพื่อให้โปรแกรมรู้จักชื่อของตัวแปรที่จะกำหนดเป็นอาร์เรย์ พร้อมถึงการกำหนดขนาดของพื้นที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บค่าของข้อมูล รายละเอียดของการประกาศสร้างตัวแปรอาร์เรย์ มีดังต่อไปนี้

การประกาศตัวแปรอาร์เรย์

ชื่อตัวแปรอาร์เรย์ = new Array (จำนวนสมาชิก);

รายละเอียดมีดังนี้

จำนวนสมาชิก หมายถึง การกำหนดการจองพื้นที่ในหน่วยความจำ ให้กับตัวแปรเพื่อรองรับข้อมูลที่กำหนด โดยปกติจะกำหนดหรือไม่ก็ได้ เพราะอาร์เรย์ของจาวาสคริปต์มีความยืดหยุ่นมากสำหรับในการรับจำนวนสมาชิก


การกำหนดค่าให้กับตัวแปรอาร์เรย์

ตัวแปร [Index] = ข้อมูล;

รายละเอียดมีดังนี้

Index หมายถึง หมายเลขลำดับของพื้นที่ที่เก็บข้อมูลโดยเริ่มนับตั้งแต่ 0, 1, 2, ... เป็นต้นไป


โปรแกรมตัวอย่าง การกำหนดค่าให้ตัวแปร Array

           กำหนดให้ตัวแปร MyArray เป็นตัวแปรอาร์เรย์ มีจำนวนสมาชิก 3 พื้นที่ ประกอบไปด้วยข้อมูล
           ตัวแปรอาร์เรย์ MyArray ลำดับที่ 0 เก็บข้อมูล "First"
           ตัวแปรอาร์เรย์ MyArray ลำดับที่ 1 เก็บข้อมูล "Second"
           ตัวแปรอาร์เรย์ MyArray ลำดับที่ 2 เก็บข้อมูล "Third"

การรับข้อมูลให้กับตัวแปรอาร์เรย์
การรับข้อมูลให้กับตัวแปรอาร์เรย์ เป็นวิธีการในการกำหนดค่าให้กับตัวแปรอาร์เรย์ โดยป้อนข้อมูลที่ต้องการผ่านแป้นพิมพ์โดยใช้คำสั่ง PROMPT( ... ) ในการรับข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้

ตัวแปร [Index] = prompt("ข้อความนำ", "ค่าเริ่มต้น");

รายละเอียดมีดังนี้

  • ตัวแปร หมายถึง ตัวแปรที่อ้างอิงเพื่อรอรับเก็บข้อมูลที่ป้อนได้จากแป้นพิมพ์
  • Index หมายถึง หมายเลขลำดับของพื้นที่ที่เก็บข้อมูล โดยเริ่มนับตั้งแต่ 0, 1, 2, ...
  • ข้อความนำ หมายถึง ข้อความที่ต้องการให้ปรากฎแสดงในกรอบโต้ตอบเพื่อบอกว่าต้องการให้ทำอะไร
  • ค่าเริ่มต้น หมายถึง ค่าของข้อมูลหรือข้อความใด ๆ ที่ต้องการให้ปรากฎในช่องของการกรอกข้อมูลบนกรอบโต้ตอบ จะกำหนดหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่กำหนดค่าเริ่มต้นใด ๆ ภายในกรอบการกรอกข้อมูล จะแสดงข้อความ undefined ออกมา

เมื่อมีการป้อนข้อมูลที่ต้องการแล้ว จะมีปุ่มคำสั่งให้เลือกดังนี้
           ปุ่ม OK จะทำหน้าที่นำข้อมูลที่ป้อนนั้นมาเก็บลงยังตัวแปรที่กำหนด
           ปุ่ม Cancel จะทำหน้าที่ยกเลิกข้อมูล ทำให้ตัวแปรที่รอรับค่านั้นไม่มีค่าข้อมูลใด ๆ จะมี ผลให้ตัวแปรนั้นพิมพ์คำว่า null ออกมา ซึ่งหมายถึงไม่มีค่านั่นเอง

การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์
การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ (Intial value) เป็นการกำหนดค่าโดยตรงให้กับตัวแปรอาร์เรย์ ในขณะที่มีการประกาศเริ่มใช้ตัวแปรอาร์เรย์ ค่าที่กำหนดนี้ถือว่าเป็นค่าเริ่มต้นในการกำหนดค่าใด ๆ ให้กับตัวแปรอาร์เรย์ ค่าเหล่านี้มักใช้ในกรณีเหมือนค่าคงที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบหรือใช้สำหรับอ้างอิงกับข้อมูลอื่น ๆ และโดยทั่วไปก็ยังคงมีการใช้งานและกำหนดค่าเหมือนตัวแปรอาร์เรย์ปกติ มีรูปแบบการกำหนดดังนี้

รูปแบบ

ชื่อตัวแปรอาร์เรย์ = new Array (ข้อมูล1, ข้อมูล2, ... );

รายละเอียดมีดังนี้

ข้อมูล หมายถึง ค่าของข้อมูลที่กำหนดโดยตรงให้กับตัวแปรอาร์เรย์

ส่วนเรื่องการจองพื้นที่ในหน่วยความจำให้กับตัวแปนอาร์เรย์ จะขึ้นอยู่กับจำนวนของข้อมูลที่กำหนด เช่นต้องการกำหนดตัวเลข 120, 150, 200 เป็นค่าเริ่มต้อนให้กับตัวแหรอาร์เรย์ num เขียนได้ดังนี้

num = new Array(120,150,200);

นั่นหมายถึงตัวเลข 120, 150 และ 200 จะถูกเก็บลงยังตัวแปรอาร์เรย์ num[0], num[1], num[2] ตามลำดับ

 


Free Web Hosting