2).การป้องกันและระงับอัคคีภัย

เมื่อรู้ภยันตรายจากไฟไหม้แล้ว การป้องกันมิให้เกิด จะเป็นหนทางแรกที่ประชาชนทุกคน ควรเลือกปฏิบัติ ซึ่งการป้องกันนั้น

มีหลักอยู่ว่า

    1. กำจัดสาเหตุ

    2. คุมเขตลุกลาม

    3. ลดความสูญเสีย

“  ป้องกันอย่าให้เกิด คือสิ่งประเสริฐสุด ”

2.1).  กำจัดสาเหตุ    สาเหตุแห่งอัคคีภัย

    1.1    ประมาท   ในการใช้เชื้อเพลิง การใช้ความร้อน การใช้ไฟฟ้า

    1.2    อุบัติเหตุ    ทั้งโดยธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์

    1.3    ติดต่อลุกลาม    การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน

    1.4    ลุกไหม้ขึ้นเอง   การทำปฏิกิริยาทางเคมี การหมักหมม อินทรีย์สารวางเพลิง  ทั้งทางตรง และ ทางอ้อม

2.2). คุมเขตลุกลาม  รีบระงับ ยับยั้งไฟ ด้วยการทำความเข้าใจในหลัก

ตัวเลขรักษาชีวิต  “ 3 – 4 – 6 เดินชิดขวา  รักษาชีวิต “

เลข 3 คือ องค์ประกอบของไฟ

 Component of Fire

องค์ประกอบของไฟมี  3 อย่าง คือ

1.   ออกซิเจน ( Oxygen )ไม่ต่ำกว่า 16 % (ในบรรยากาศ  ปกติจะมีออกซิเจนอยู่

     ประมาณ 21 %)

2.   เชื้อเพลิง ( Fuel )  ส่วนที่เป็นไอ (เชื้อเพลิงไม่มีไอ ไฟไม่ติด)

3.   ความร้อน ( Heat ) เพียงพอทำให้เกิดการลุกไหม้

ไฟจะติดเมื่อองค์ประกอบครบ 3 อย่าง  ทำปฏิกิริยาทางเคมีต่อเนื่องเป็นลูกโซ่

( Chain Reaction )

การป้องกันไฟ    คือ การกำจัดองค์ประกอบขอไฟ

การดับไฟ           คือ การกำจัดองค์ประกอบของ ไฟ เช่นกัน      

    วิธีการดับไฟ       จึงมีอย่างน้อย  3  วิธี คือ

    1.   ทำให้อับอากาศ ขาดออกซิเจน

    2.   ตัดเชื้อเพลิง กำจัดเชื้อเพลิงให้หมดไป

    3.   ลดความร้อน ทำให้เย็นตัวลง

    *  และการตัดปฏิกิริยาลูกโซ่  *

เลข 4 คือ ประเภทของไฟ

Classification of Fire

    ไฟมี 4 ประเภท คือ A B C D ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานสากล

ไฟประเภท เอ  มีสัญลักษณ์เป็น รูปตัว A สีขาวหรือดำ อยู่ในสามเหลี่ยมสีเขียวไฟประเภท A คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสติ๊ก หนังสัตว์  ปอ  นุ่น  ด้าย รวมทั้งตัวเราเองวิธีดับไฟประเภท A ที่ดีที่สุด คือ การลดความร้อน (Cooling) โดยใช้น้ำ

ไฟประเภท บี มีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว B สีขาวหรือดำ อยู่ในรูปสี่เหลี่ยม สีแดงไฟประเภท B คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลวและก๊าซเช่น น้ำมันทุกชนิด  แอลกอฮอล์ ทิเนอร์ ยางมะตอยจารบี   และก๊าซติดไฟทุกชนิด   เป็นต้น วิธีดับไฟประเภท B ที่ดีที่สุด คือ กำจัดออกซิเจน ทำให้อับอากาศ โดยคลุมดับ ใช้ผงเคมีแห้ง ใช้ฟองโฟมคลุม

ไฟประเภท ซี   มีสัญลักษณ์เป็นรูป C สีขาวหรือดำ อยู่ในวงกลมสีฟ้า

ไฟประเภท C คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด การอาร์ค การสปาร์ค

วิธีดับไฟประเภท C ที่ดีที่สุด คือ ตัดกระแสไฟฟ้า แล้วจึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ

น้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มี CFCไล่ออกซิเจนออกไป

ไฟประเภท ดี  มีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว D สีขาวหรือดำ อยู่ในดาว 5 แฉก สีเหลือง

ไฟประเภท D คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น  วัตถุระเบิด,  ปุ๋ยยูเรีย(แอมโมเนียมไนเตรต)  , ผงแมกนีเซียม ฯลฯ

วิธีดับไฟประเภท D ที่ดีที่สุด คือ การทำให้อับอากาศ  หรือใช้สารเคมีเฉพาะ (ห้ามใช้น้ำเป็นอันขาด) ซึ่งต้องศึกษาหาข้อมูลแต่ละชนิดของสารเคมีหรือโลหะนั้นๆ  

No Picture

เลข 6 คือ เครื่องดับเพลิงแบบมือ

Portable Fire Extinguishers

เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Portable Fire Extinguisher) หรืออาจเรียกว่าแบบยกหิ้ว มีประโยชน์ในการระงับไฟเบื้องต้น

ไม่ควรฉีดถ้าไม่เห็นแสงไฟ

เครื่องดับเพลิงมีมากกว่า 20 ชนิด แต่ควรรู้เป็นหลัก 6 ชนิด คือ

1. เครื่องดับเพลิงชนิดกรดโซดา ( Soda  Acid )

( นิยมบรรจุในถังสีแดงไม่มีสาย ไม่มีคันบีบ )

เวลาใช้  ต้องทำให้หลอดบรรจุกรดโซดาแตก ( โดยการทุบปุ่มเหนือถัง )  เพื่อทำปฏิริยากับน้ำ

เกิดแก๊สขับดัน ให้ถือถังคว่ำลง แล้วน้ำจะพุ่งผ่านหัวฉีดเข้าดับไฟ  ซึ่งยุ่งยากซับซ้อน  ตรวจสอบ

ยาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้ ไม่มีจำหน่ายในเมืองไทยแล้ว  แต่ในต่างประเทศยังมีใช้อยู่

 

ใช้ดับไฟประเภท A อย่างเดียว

2. เครื่องดับเพลิงชนิดฟองโฟม ( Foam )

( นิยมบรรจุในถังอลูมิเนียมสีครีมหรือถังสแตนเลส มีหัวฉีดเป็นหัวฝักบัว  )

บรรจุอยู่ในถังที่มีน้ำยาโฟมผสมกับน้ำแล้วอัดแรงดันเข้าไว้ (  นิยมใช้โฟม AFFF ) เวลาใช้

ถอดสลักและบีบคันบีบ   แรงดันจะดันน้ำผสมกับโฟมผ่านหัวฉีดฝักบัว พ่นออกมาเป็นฟอง

กระจายไปปกคลุมบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ทำให้อับอากาศขาดออกซิเจน และลดความร้อน

ใช้ดับไฟประเภท B และ A

3. เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน ( Water Pressure )

( นิยมบรรจุถังแสตนเลส ต่างประเทศบรรจุถังกันสนิมสีแดง)

บรรจุน้ำอยู่ในถัง แล้วอัดแรงดันน้ำเข้าไว้ จึงเรียกว่า  น้ำสะสมแรงดัน

 

ใช้ดับไฟประเภท A

4. เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ

ซีโอทู (Carbondioxide)

( นิยมบรรจุถังสีแดง  ต่างประเทศบรรจุถังสีดำ )

บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง    ประมาณ  800 ถึง1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว  ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกระบอกหรือกรวย  เวลาฉีดจะมีเสียงดังเล็กน้อย    พร้อมกับพ่นหมอกหิมะออกมาไล่ความร้อน และออกซิเจนออกไป    ควรใช้ภายในอาคารที่ต้องการความสะอาด โดยฉีดเข้าใกล้ฐานของไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5 – 2  เมตร   เมื่อใช้งานแล้วจะไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลือ

 

ใช้ดับไฟประเภท C และ B

5. เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ( Dry Chemical Powder )

( นิยมบรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีฟ้า )

บรรจุผงเคมี ซึ่ง มีหลายชนิด หลายคุณภาพไว้ในถัง แล้วอัดแรงดันเข้าไป เวลาใช้ ผงเคมีจะถูกดันออกไปคลุมไฟทำให้อับอากาศ    ควรใช้ภายนอกอาคาร เพราะผงเคมีเป็นฝุ่นละอองฟุ้งกระจายทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอุปสรรคในการเข้าผจญเพลิง อาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาแพง เสียหายได้

ใช้ดับไฟได้ดีคือ ไฟประเภท B

ผงเคมีไม่เป็นสื่อไฟฟ้า    สามารถดับไฟประเภท C ได้ (แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเสียหาย)

การดับไฟประเภท A ต้องมีความชำนาญและควรใช้น้ำดับถ่าน

6. เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ฮาโลตรอน ( Halotron )

( นิยมบรรจุถังสีเขียว)

แต่เดิมบรรจุน้ำยาเหลวระเหย ชนิด BCF Halon โบรโมคลอโร ไดฟลูออโร    ซึ่งเป็นสาร CFC ไว้ในถังสีเหลือง ใช้ดับไฟได้ดีแต่มีสารพิษ    และในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้

เลิกผลิตพร้อมทั้งให้ทุกประเทศ ลดการใช้จนหมดสิ้น   เพราะเป็นสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อมโลก

บางประเทศเช่น ออสเตเลีย ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฏหมาย

: ปัจจุบันน้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มีสาร CFC มีหลายยี่ห้อ และหลายชื่อ

ใช้ดับไฟประเภท C และ B ส่วนไฟประเภท A ต้องมีความชำนาญ สามารถฉีดใช้ได้ไกลกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ คือระยะ 3-4 เมตร

การตรวจสอบแรงดันในถังดับเพลิง

img21.gif

มาตรวัด (Pressure Gauge) เครื่องดับเพลิง

ถ้ามีมาตรวัด  (Pressure Gauge) ต้องดูที่เข็ม “เข็มตั้งยังใช้ได้ เข็มเอียงซ้ายไม่ได้การ” หากแรงดันไม่มี เข็มจะเอียงมาทางซ้าย ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที อย่าติดตั้งไว้ให้คนเข้าใจผิด คิดว่ายังใช้ได้  การตรวจสอบนี้ควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่ดูแลบริเวณที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงนั้นๆ ควรตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งถ้าไม่มีมาตรวัด (Pressure Gauge) คือเครื่องดับเพลิงชนิด

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(ซีโอทู) ใช้วิธีชั่งน้ำหนักก๊าซที่อยู่ในถัง หาก ลดลงต่ำกว่า80 % ควรนำไปอัดเพิ่มเติม

การบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง

เครื่องดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง  จึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้สามารถใช้งานได้อย่างมี

ประสิทธิภาพในระยะยาวนาน ขั้นตอนที่สำคัญในการบำรุงรักษา คือ

1.     อย่าติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ใอุณหภูมิสูง  มีควาชื้น  หรือเกิดความ สกปรกได้ง่าย เช่น ตากแดด ตากฝน  ติดตั้งใกล้จุดกำเนิดความร้อนต่างๆ อาทิ หม้อต้มน้ำ  เครื่องจักรที่มีความร้อนสูง เตาหุงต้ม ห้องอบต่างๆ เป็นต้น

2.    ทำความสะอาดตัวถังและอุปกรณ์ประกอบ (สายฉีด,หัวฉีด)เป็นประจำ สม่ำเสมอ (อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) เพื่อให้ดูดีมีระเบียบและพร้อมใช้งาน

3.   หากเป็นเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง   ควรเคลื่อนผงเคมีที่บรรจุอยู่ภายใน โดยยกถังพลิกคว่ำ-พลิกหงาย 5-6 ครั้ง

(จนแน่ใจว่าผงเคมีแห้งไม่จับตัวเป็นก้อน)  อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

4. ตรวจสอบสลากวิธีใช้  ป้ายบอกจุดติดตั้ง ป้าย แสดงกำหนดการบำรุงรักษา  และผู้ตรวจสอบ (Maintenance Tag )ให้สามารถอ่านออกได้ชัดเจนตลอดเวลา หากท่านได้ตรวจสอบและบำรุงรักษาตามที่กล่าวมานี้แล้ว  อุปกรณ์ของท่านจะมีอายุยืนยาว  สามารถ

ใช้ได้ไม่ต่ำกว่า  5 ปี

หมายเหต  ขอให้ระวังผู้ไม่หวังดี มาหลอกท่านเพื่อขอนำเครื่องดับเพลิงไปเติมแรงดัน หรือผงเคมีแห้ง โดยอ้างว่าเสื่อมสภาพ  

ท่านควรซื้อเครื่องดับเพลิงจากบริษัทขายเครื่องดับเพลิงที่รับประกันอย่างน้อย 5 ปี และในระยะเวลารับประกัน   หากแรงดันในถังลดลง โดยที่ไม่มีการดึงสายรัดสลักนิรภัย (Safety Pin) ออก   บริษัท ขายเครื่องดับเพลิงนั้นจะต้องทำการเติมแรงดันหรือผงเคมีให้ท่านโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

การติดตั้งเครื่องดับเพลิง

ให้ติดตั้งสูงจากพื้น โดยวัดถึงส่วนที่สูงที่สุดของเครื่องดับเพลิง  ต้องไม่เกิน 140 ซม.สำหรับถังดับเพลิงขนาดเบาที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 10 กก. เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบใช้ได้สะดวก  และติดตั้งสูงไม่เกิน 90 ซม.สำหรับถังขนาดหนัก   พร้อมติดตั้งป้ายชี้ตำแหน่งไว้เหนือเครื่องดับเพลิงเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล จากทุกมุมมอง และทั้งกลางวันและ

กลางคืน เครื่องดับเพลิงทุกเครื่องที่ติดตั้งในประเทศไทย ต้องมีรายละเอียดเป็น

ภาษาไทยด้วย  และจะต้องมีป้ายระบุระยะเวลาการตรวจสอบบำรุงรักษา (Maintenance Tag)   ที่เครื่องดับเพลิงทุกๆเครื่องด้วย

( ซึ่งกำหนดให้ตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง )

Free Web Hosting