ส่งข้อมูลขึ้นเครื่องแม่ข่าย

เมื่อได้พัฒนาเอกสารเว็บ และตรวจสอบผลได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็สามารถโอนข้อมูลนั้นๆ ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ได้ โดยใช้โปรแกรมกลุ่มถ่ายโอนข้อมูล (FTP Software) เช่น WinFTP, CuteFTP เป็นต้น

ก่อนทำการโอนข้อมูล จะต้องทำการขอสิทธิ์และพื้นที่จากผู้ดูแลระบบก่อนเสมอ และตลอดจนต้อง สอบถามข้อมูลที่จำเป็นในการโอนข้อมูล เช่น

  • ชื่อบัญชีของผู้มีสิทธิ์ (Login Name / Account Name)
    ชื่อบัญชี เป็นสิ่งจำเป็นประการแรกที่ต้องทราบ เพราะจะเป็นสิ่งที่บอกว่าผู้พัฒนาเว็บมีสิทธิ์ในการโอนถ่ายข้อมูลหรือไม่
  • รหัสผ่านของบัญชี (Password)
    นอกจากชื่อบัญชีแล้ว รหัสผ่านจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการยืนยันการเข้าสู่ระบบ และป้องกันบุคคลอื่นมาแอบอ้างใช้พื้นที่ของเรา (หากมีการปกปิดรหัสผ่านไว้อย่างมิดชิด)
  • ชื่อเครื่องแม่ข่าย (Host Name)
    ชื่อเครื่องแม่ข่าย เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทราบ เพราะเป็นชื่อที่จะใช้ในการขอติดต่อ เพื่อใช้บริการฝากข้อมูลนั่นเอง และชื่อนี้อาจจะมีชื่อแตกต่างกับ ชื่อเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ก็ได้ เช่น สมาชิกของเครือข่าย SchoolNet จะมีเว็บไซต์ในการเรียกดูคือ www.school.net.th แต่ชื่อเครื่องแม่ข่ายในการรับฝากข้อมูลเอกสารเว็บ ได้แก่ user.school.net.th เป็นต้น
  • ไดเร็กทรอรี่ที่จะใช้จัดเก็บข้อมูลบนเครื่องแม่ข่าย
    ไดเร็กทรอรี่สำหรับใช้จัดเก็บข้อมูลบนเครื่องแม่ข่าย ก็จำเป็นต้องสอบถามด้วย เพราะผู้ดูแลระบบ อาจจะกำหนดแตกต่างกันออกไป เช่น ผู้ดูแลระบบเครือข่าย SchoolNet กำหนดให้ใช้ไดเร็กทรอรี่ชื่อ www ในขณะที่ผู้ดูแลระบบของเครือข่ายเอกชนบางแห่ง กำหนดให้ใช้ไดเร็กทรอรี่เป็น homepage เป็นต้น

WinFTP

  • ชื่อเรียกดูเว็บไซต์ผ่านเบราเซอร์ (URL)
    URL หรือ Uniform Research Locator หมายถึง ชื่อเรียกที่อยู่ของเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์เครือข่าย SchoolNet มี URL คือ http://www.school.net.th เว็บไซต์ของเนคเทค มี URL คือ http://www.nectec.or.th เป็นต้น
    การกำหนด URL นี้ผู้ดูแลระบบอาจจะเป็นผู้กำหนดให้ ดังนั้นผู้พัฒนาเว็บเพจ ควรสอบถามจาก ผู้ดูแลระบบด้วยเสมอ ว่าเมื่อนำข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่ายแล้ว จะเรียกดูข้อมูลได้อย่างไร สำหรับเครือข่าย SchoolNet กำหนด URL สำหรับสมาชิกไว้ดังนี้ http://user.school.net.th/~account-name

 


Free Web Hosting