การนำเสนอข้อมูลในระบบ
WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทิม เบอร์เนอร์
ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป
(EuropeanParticle Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil
European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และได้มีการพัฒนาภาษา ที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสาร ของนักวิจัย
หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server)
ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup
Language)
การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage)
เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า
ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ
เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป
สามารถเผยแพร่ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง
และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและ เทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย
อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ
ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ของระบบอินเทอร์เน็ต
ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ
คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถ
เชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า
HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถมากกว่า ข้อความปกตินั่นเอง
จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ
ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง
ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web
ไว้ดังนี้
"World
Wide Web as a global, interactive, cross-platform,
distributed, graphical hypertext information system that runs over
the Internet."
-
The Web is a Graphical Hypertext Information System.
การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ
เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ
ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู
-
The Web is interactive.
การทำงานบนเว็บเป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง
เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ
(URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่าน เบราเซอร์
ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ
อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง
-
The Web is Cross-Platform.
ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
เนื่องจากเป็นข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File
ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็น Unix หรือ
Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS
ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้
-
The Web is Distributed.
ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากจากทั่วโลก
และผู้ใช้จากทุกแห่งหนที่สามารถต่อเข้าระบบอินเทอร์-เน็ตได้
ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา
ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว
และกว้างไกล
เมื่อเว็บเพจเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลที่ได้รับความสนใจมาก
การเรียนรู้เทคโนโลยีด้านนี้ เพื่อนำมาพัฒนาเว็บเพจด้วยตนเอง
จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยอาศัยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML
และสามารถดูเว็บที่พัฒนาแล้ว ด้วยโปรแกรมเบราเซอร์ (Web Browser)